ในบรรดาอาวุธประชิดดาบญี่ปุ่น ถือเป็นอาวุธสังหารที่น่ากลัวที่สุดด้วยเหตุผลใดนะหรอผมจะพาท่านไปสัมผัสว่าเหตุใดหลายคนถึงได้หลงไหลอยากได้ไว้ครอบครองเป็นสมบัติส่วนตัวและที่ว่า "น่ากลัว" ที่สุดเป็นเพราะอะไร
คะตะนะ (ญี่ปุ่น: 刀 かたな katana, นิยมทับศัพท์เป็น"คาตานะ"?)เป็นดาบญี่ปุ่นมีลักษณะคมด้านเดียว เพื่อฟันหรือตัดไม่หัก,ไม่งอ,และคม,มีวิธีการผลิตเฉพาะในญี่ปุ่นคือเอาโลหะมาเผาและตีแผ่ครั้งแล้วครั้งเล่าจนได้ดาบที่มีความแข็งแรงคมคะตะนะถือโดยชนชั้นซามูไรในญี่ปุ่นสมัยศักดินาจึงได้ชื่อว่า"ดาบซามูไร"
ในยุคเอะโดะดาบเป็นสัญลักษณ์ของลัทธิบุชิโด (วิถีนักรบ)ซึ่งเป็นจริยธรรมของนักรบที่ต้องยึดถือปฏิบัติและเป็นสิทธิพิเศษเฉพาะนักรบเท่านั้นที่อนุญาตให้พกดาบได้ซึ่งในขณะนั้นมีประมาณร้อยละสิบของประชากรทั้งหมดและเหล่านักรบนั้นจึงถือว่าดาบเป็นสิงศักดิ์สิทธิ์เป็นสิ่งที่แสดงเกียรติยศชื่อเสียงและความภาคภูมิใจของตระกูลและดาบเหล่านั้นจะสืบทอดเป็นมรดกต่อๆกันไปหลายชั่วอายุคนและใช้ดาบนี้ในการคว้านท้องหรือเซ็ปปุกุซึ่งถือกันว่าเป็นการตายอย่างมีเกียรติของนักรบเหล่านี้ดาบซามูไรนี้ได้ถูกใช้เป็นอาวุธจนกระทั่งมีการนำปืนเข้ามาใช้และกลายเป็นอาวุธหลักแทน
เดิมนักรบชาวญี่ปุ่นใช้ดาบจากจีนและเกาหลีในการสู้รบ ในยุคนะระ (Nara Period) ประมาณปี พ.ศ. 1193-1336 หรือประมาณ 1,300 ปีเศษที่แล้วปัญหาที่พบคือเวลาสู้รบดาบมักหักออกเป็นสองท่อนจักรพรรดิจึงสั่งให้ช่างตีดาบปรับปรุงดาบให้ดีขึ้นกว่าเดิมช่างตีดาบยุคแรกมีชื่อว่า"อะมะกุนิ"เขาพัฒนาการตีดาบไม่ให้หักง่ายด้วยการใช้เหล็กที่ดีและมีการศึกษาวิธีทำให้เหล็กแข็งแกร่งกว่าเดิมเหล็กที่ดีของญี่ปุ่นได้จากการถลุง มีชื่อว่า"ทะมะฮะกะเนะ"(Tamahagane)อะมะกุนิพบว่าการที่จะให้ได้ดาบคุณภาพดีต้องควบคุมของสามสิ่ง คือ การควบคุมความเย็นการควบคุมปริมาณคาร์บอน และการนำสิ่งปะปนที่อยู่ในเหล็กออกปริมาณคาร์บอนคือหัวใจสำคัญในการตีดาบหากใส่คาร์บอนในเหล็กมากไปเหล็กจะเปราะใส่น้อยไปเหล็กจะอ่อน จึงต้องใส่ในปริมาณที่พอเหมาะ เหล็กถูกนำมาหักแบ่งเป็นชิ้นเล็กวางซ้อนกันก่อนหลอมและนำไปตีให้เป็นเนื้อเดียวกัน หลังจากนั้นจึงพับเหล็กเป็นสองชั้นขณะยังร้อนๆแล้วตีซ้ำอีกครั้งแล้วครั้งเล่าเหล็กจะซ้อนกันเป็นชั้นๆทวีคูณขึ้นเรื่อยๆจนเป็นหมื่นๆชั้นทำให้คาร์บอนกระจายไปจนทั่วเนื้อเหล็กแล้วจึงนำไปตีแผ่ออกให้เป็นใบดาบจะได้ใบดาบที่ดีเนื้อเหล็กแกร่งและคมไม่หักอีกต่อไป
ในยุคคะมะกุระ (KamakuraPeriod) ราวปีพ.ศ.1735-1879 จักรพรรดิสั่งให้ช่างตีดาบศึกษาวิธีการตีเหล็กจากยุคโบราณยุคนี้ถือเป็นจุดเริ่มยุคทองของดาบซามูไรมีการพัฒนาดาบให้ดีขึ้นกว่าเดิมโดยมีการเพิ่มวิธีการผสมเหล็กสองชนิดเข้าด้วยกันเหล็กที่มีความแข็งจะมีปริมาณคาร์บอนสูงใช้ทำเป็นตัวดาบ และเหล็กอ่อนที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำใช้ทำเป็นไส้ดาบเพื่อให้ยืดหยุ่นจากเหล็กสองชนิดที่ถูกนำมาพับและตีมากกว่าสิบชั้นทำให้เกิดชั้นเล็กๆเป็นทวีคูณเป็นหมื่นชั้นช่างตีดาบจะพับเหล็กแข็งให้เป็นรูปตัว "U" และนำเหล็กอ่อนมาวางไว้ตรงกลางเพื่อเป็นไส้ในแล้วนำไปหลอมและตีรวมกันให้แผ่ออกเป็นใบดาบจากนั้นนำไปหลอมในอุณหภูมิที่เหมาะสมซึ่งมากกว่า 700 องศาเซลเซียส แล้วจึงนำมาแช่น้ำเย็นการแช่น้ำต้องระมัดระวังมากหากแช่ไม่ดีดาบจะโค้งเสียรูปเหล็กที่มีความแข็งต่างกันเมื่อทำให้เย็นทันทีจะหดตัวต่างกันถือเป็นเคล็ดลับที่ทำให้ใบดาบโค้งได้รูปตามธรรมชาติ ดาบสามารถฟันคอขาดได้ในครั้งเดียวบาดแผลที่ได้รับจากดาบจะเจ็บปวดมากซามูไรยังต้องเรียนรู้การใช้ดาบอย่างช่ำชองว่องไวและคล่องแคล่วให้เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายจากความสามารถนี้เองทำให้ซามูไรเพียงคนเดียวสามารถสังหารศัตรูที่รายล้อมตนกว่าสิบคนได้ภายในชั่วพริบตาด้วยดาบเพียงเล่มเดียว แต่ประเพณีการต่อสู้ของชนชั้นซามูไรคือการต่อสู้ "ตัวต่อตัวอย่างมีมารยาทด้วยดาบ" ผู้แพ้ที่ยังมีชีวิตอยู่คือผู้ที่ไร้เกียรติซามูไรจึงไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้การฆ่าตัวตายอย่างสมเกียรติด้วยการทำ "เซ็ปปุกุ" คือเกียรติยศของซามูไร
ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 1817 ชาวมองโกลของกุบไลข่านบุกญี่ปุ่นที่อ่าวฮะกะตะด้วยกองทัพเรือ 800 ลำ และกำลังพลสามหมื่นนายเหล่าซามูไรต้องการจะสู้กันตัวต่อตัวอย่างมีมารยาทเยี่ยงสุภาพบุรุษกับนักรบระดับผู้นำแต่ไม่ได้ผลพวกซามูไรต้องปะทะสู้ที่ชายหาดกับฝูงธนูอาบยาพิษและระเบิด เป็นสงครามที่ไม่มีระเบียบและตกเป็นรองพายุไต้ฝุ่นช่วยทำลายกองเรือของชาวมองโกลจนหมดสิ้นการรบครั้งแรกเหมือนการหยั่งเชิงของชาวมองโกลเพื่อดูกำลังของศัตรูอีกเจ็ดปีต่อมาพวกมองโกลกลับมาอีกครั้งด้วยกองเรือ 4,000 ลำ พร้อมกองทหารอีกสองแสน พวกซามูไรรบพุ่งกับลูกธนูอย่างกล้าหาญพวกเขาตัดเรื่องมารยาททิ้งไปตกกลางคืนเหล่าซามูไรพายเรือลอบเข้าโจมตีพวกมองโกลประชิดตัวด้วยการใช้ดาบที่ช่ำชองดาบทหารมองโกลไม่มีทางสู้ดาบซามูไรได้เลย
ระหว่างสงครามพายุไต้ฝุ่นก็ทำลายกองเรือของมองโกลอีกครั้งกองเรือสองในสามจมไปกับทะเลพายุ, ทหารมองโกลจมน้ำตายนับหมื่นพวกที่ว่ายน้ำเข้าฝั่งก็ตายด้วยคมดาบอย่างหมดทางสู้ ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเมืองนี้ถูกปกป้องจากพระเจ้าและตั้งชื่อลมพายุนี้ว่า"คะมิกะเซะ" (Kami-Kaze) หมายถึงลมศักดิ์สิทธิ์หรือลมผู้หยั่งรู้ หลังจากนั้นพวกมองโกลก็ไม่ได้กลับมาตีญี่ปุ่นอีกเลย
หลังจากสงครามสิ้นสุดบ้านเมืองอยู่ในความสงบ พบว่าหลังจากการรบที่ผ่านมาดาบมักจะบิ่นจักรพรรดิจึงสั่งให้ช่างตีดาบหาวิธีแก้ไขช่างตีดาบที่สร้างสมดุลของความแข็งและความอ่อนของเหล็กและพัฒนาโครงสร้างของดาบออกเป็นเหล็กสามชิ้นคือ"มะซะมุเนะ" ราวปี พ.ศ. 1840 ดาบของมาซามุเนะถือเป็นดาบที่พัฒนาถึงขั้นสูงสุดในญี่ปุ่นไม่มีช่างตีดาบคนใดจะเทียบได้เขาสร้างความสมดุลของความแข็งของคมดาบเคล็ดลับการทำดาบคือการผสมเหล็กสามชนิดเข้าด้วยกันเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนสูงจะใช้เป็นใบดาบด้านข้างที่เรียกว่า "กะวะกะเนะ" (Gawa-gane) และด้านคมดาบ (ฮะกะเนะ "Ha-gane") ใช้เหล็กที่แข็งมากโดยผ่านการพับและตีถึง 15 ครั้ง ซึ่งสามารถสร้างชั้นของเหล็กที่ซ้อนกันถึง 32,768 ชั้น ทำให้เหล็กเหนียวและแกร่งมากกว่าส่วนอื่นๆ ส่วนเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำจะใช้เป็นส่วนไส้ใน (Core Steel) ทำให้มีความยืดหยุ่นเรียกว่า "ชิกะเนะ" (Shi-gane) แล้วนำไปหลอมที่อุณหภูมิประมาณ 800 องศาเซลเซียสให้เป็นเนื้อเดียวกันแล้วจึงนำมาตีแผ่ออกเป็นใบดาบช่างตีดาบคนอื่นๆเริ่มเลียนแบบในเวลาต่อๆ มา
ช่างตีดาบในยุคเดียวกันที่มีชื่อเสียงเทียบเคียงมะซะมุเนะ คือ "มุระมะซะ" กล่าวกันว่าใครที่มีดาบของ "มุระมะซะ" ไว้ครอบครอง
ยุคดาบใหม่ (New Sword) ราวปี พ.ศ. 2197-2410 ซึ่งอยู่ช่วงเดียวกับศิลปะสมัยอยุธยา และต้นรัตนโกสินทร์ คือช่วงสมัยเอโดะ และยุคที่ญี่ปุ่นปิดประเทศห้ามคนเข้าออกอย่างเด็ดขาด (พ.ศ. 2182)
ยุคดาบสมัยใหม่ (Modern Sword) ราวปี พ.ศ. 2411 ถึงปัจจุบัน ยุคที่ดาบทหารถือกำเนิดขึ้น (พ.ศ. 2411-2488) การผลิตเป็นจำนวนมากเพื่อการสงครามไม่มีพิธีกรรมแบบโบราณ ดาบญี่ปุ่นมัวหมองเพราะถูกใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในการตัดคอเชลยศึกซึ่งไม่ใช่ประเพณีของชนชั้นซามูไร พอมาถึงสมัยปัจจุบันดาบกลายเป็นงานศิลปะชั้นสูงที่มีราคาแพง
ดาบซามูไรแบ่งตามยุคสมัย มี 4 ชนิดคือ
1.โคโต (Koto)
2. ชินโต (Shinto)
3. ชิงชินโต (Shinshinto)
4. เก็นไดโต (Gendaito)
แบ่งตามความยาว
โอดะชิ (大太刀, Ōdachi) ยาวมากกว่า 3 ชะกุ (Shaku)
ตะชิ (太刀, Tachi) ยาวตั้งแต่ 2-3 ชะกุ
โคะดะชิ (小太刀, Kodachi) ยาวไม่ถึง 2 ชะกุ
วะกิสะชิ (脇差, Wakizashi) ยาวตั้งแต่ 1-1.7 ชะกุ 1 ชะกุ (Shaku) = 0.303 เมตร
ดาบมีหลายแบบและหลายประเภท สามารถแบ่งชนิดหลัก ๆ ออกได้ 3 ชนิดดังนี้
ดาบยาวตะชิ (太刀, Tachi)
ดาบยาวของทหารม้า มีความโค้งของใบดาบมากใช้ฟันจากหลังม้ามีความยาวของใบดาบมากกว่า 70 เซนติเมตร มักไม่คำนึงถึงความคล่องตัวแต่คำนึงถึงระยะโจมตีมากกว่า
คะตะนะ (刀, Katana)
ดาบที่มาแทนที่ดาบตะชิของทหารม้าตั้งแต่กลางยุคมุโระมะจิ (ราว พ.ศ. 2000) สามารถใช้ต่อสู้บนพื้นดินได้คล่องตัวกว่า เพราะมีความโค้งน้อยควบคุมได้ง่าย ความยาวใบดาบโดยประมาณ 60.6 เซนติเมตรขึ้นไปถึง 70 เซนติเมตร
ดาบขนาดกลาง วะกิสะชิ (脇差, Wakizashi)
ดาบที่ใช้พกพาคู่กับดาบคะตะนะของซามูไรใบดาบมีความยาวตั้งแต่ 12 - 24 นิ้ว ดาบที่ซามูไรใช้สำหรับทำ "เซ็ปปุกุ" เมื่อยามจำเป็นและเป็นดาบที่ซามูไรสามารถนำติดตัวเข้าเคหสถานของผู้อื่นกรณีเป็นผู้มาเยือนได้โดยไม่ต้องฝากไว้กับคนรับใช้ตามปกติซามูไรจะพกดาบสองเล่มและโดยธรรมเนียมห้ามพกดาบยาวเข้ามาในบ้านของผู้อื่นต้องฝากไว้หน้าบ้านเท่านั้น
ดาบสั้น ตันโต (短刀, Tantō) มีลักษณะคล้ายมีดสั้นความยาวน้อยกว่าดาบวากิซาชิไอกุชิ(匕首, Aikuchi)คล้ายมีดไม่มีที่กั้นมือใช้สำหรับพกในเสื้อ เหมาะกับสตรี
ดาบซามูไรในสงครามโลกครั้งที่ 2 ดาบทหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีชื่อเรียกว่า "กุนโต" (軍刀, Guntō; มีความหมายว่า "ดาบกองทัพ" หรือ "ดาบทหาร") เป็นดาบที่ถูกผลิตขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2411 และสิ้นสุดการผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งถือว่าเป็นยุคใหม่ เป็นดาบที่ทำเพื่อการสงครามผลิตจำนวนมากยังคงความคมกริบแต่ไม่ประณีตและไม่มีขั้นตอนการทำอย่างประเพณีโบราณ ดาบรุ่นนี้ตกค้างอยู่ในแถบอินโดจีนจำนวนมากหลังจากสงครามสิ้นสุดซึ่งอาจจะพบได้ในประเทศพม่าและประเทศไทย ถูกฝังดินอยู่กลางป่าหรือในถ้ำตามเส้นทางเดินทัพของทหารญี่ปุ่น ดาบยุคสงครามจะเป็นดาบที่ใช้ฝักทำด้วยเหล็กมีห่วงทองเหลืองหรือทองแดงเรียกว่า "โอบิ-โทะริ" ใช้สำหรับห้อยกับเข็มขัดตัวดาบและฝักเหล็กมีน้ำหนักมาก จึงไม่เหมาะที่จะใช้เหน็บเอวอย่างดาบฝักไม้แบบโบราณซึ่งมีห่วงผูกเงื่อนที่ทำจากผ้าไหมใช้เหน็บเอวของซามูไรดาบทหารที่ไม่มีขั้นตอนการผลิตในแบบพิธีกรรมโบราณจึงไม่มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างดาบของพวกซามูไร
พิธีกรรมการตีดาบ พิธีกรรมการตีดาบแบบโบราณนั้นมีขั้นตอนมากมายและถือเป็นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ช่างตีดาบต้องถือศีลกินเจและทำสมาธิในขณะที่หลอมเหล็กไม่ยุ่งเกี่ยวกับใครเพื่อผลิตดาบให้เป็นมงคลแก่ผู้เป็นเจ้าของดาบเล่มนั้นๆช่างตีดาบและลูกมือจะร่วมมือกันทำดาบเพียงหนึ่งเล่มในระยะเวลามากกว่าหนึ่งเดือนชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าช่างตีดาบที่ดีจะทำดาบที่ดีออกมาหากช่างตีดาบมีจิตใจไม่ดีดาบที่ตีออกมาก็จะไม่ดีไปด้วยดาบแต่ละเล่มจึงมีราคาไม่เท่ากันบางเล่มราคามากกว่าที่ดินหนึ่งผืนหรือดาบที่ดีเพียงเล่มเดียวอาจจะมีราคาสูงกว่าหอกสามร้อยเล่มในสมัยโบราณดาบจึงไม่ใช่อาวุธที่สามารถจะซื้อมาใช้ในกองทัพได้นอกจากเป็นสมบัติส่วนตัวของเหล่าซามูไรเท่านั้น
ช่างตีดาบที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน
ช่างตีดาบที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันเช่น ซะดะเอะจิ กัซซัน (Sadaeji Gassan) ช่างตีดาบที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง
กัซซันเป็นตระกูลช่างตีดาบที่ตกทอดมากว่า 700 ปีปัจจุบันยังคงรักษาขนบธรรมเนียมการตีดาบอย่างประณีตตามขั้นตอนและวิธีการแต่โบราณจากยุคคะมะกุระโดยเป็นมรดกตกทอดมาถึง "ซะดะโตะชิ กัซซัน" (Sadatoshi Gassan) ดาบซามูไรยังคงความประณีตงดงามถือเป็นงานศิลปะขั้นสูงสุดตกทอดมาจากบรรพบุรุษปัจจุบันยังมีช่างตีดาบอีกจำนวนมากที่ตีดาบตามแนวทางดั้งเดิม การเข้ามาของดาบญี่ปุ่นในประเทศไทย ดาบญี่ปุ่นเริ่มเข้ามาในเมืองไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาช่วงสมัยเอโดะ (พ.ศ. 2146-2410)จากการติดต่อค้าขายญี่ปุ่นนำพัดและดาบเข้ามาในอยุธยาโดยเฉพาะดาบมีความสำคัญต่อพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางในราชสำนักสยามแต่งตัวในชุดเต็มยศห้อยดาบเข้าพิธีสำคัญต่างๆในพระราชสำนักอีกทั้งหนึ่งในห้าของ "เบญจราชกกุธภัณฑ์" คือ "พระแสงขรรค์ชัยศรี" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สูงสุดแห่งอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน แม้แต่ดาบหรือกระบี่ของตำรวจและทหารในชุดเต็มยศของไทยในปัจจุบันเรียกว่าดาบทหารม้า (Parade Saber) ซึ่งได้รับอิทธิพลพื้นฐานมาจากดาบญี่ปุ่นทั้งสิ้นในสมัยอยุธยาขณะที่ญี่ปุ่นต้องการสินค้าจากสยามเช่นไม้กฤษณา, ไม้ฝาง, น้ำกุหลาบ, พริกไทย เป็นต้น มีการตั้งหมู่บ้านญี่ปุ่นในอยุธยาเมื่อมีชาวญี่ปุ่นมาอยู่เป็นจำนวนมากชาวญี่ปุ่นที่นับถือศาสนาคริสต์โดยลี้ภัยทางศาสนาและส่วนหนึ่งเป็นพวกซามูไรแตกทัพที่สูญเสียเจ้านายหรือที่เรียกว่า "โรนิน" แตกทัพจากการรบที่เซะกิงะฮะระ ได้โดยสารเรือสำเภาที่กำลังจะเดินทางมาค้าขายยังชมพูทวีปและมาตั้งรกรากในประเทศสยาม สิ่งสำคัญที่นำติดตัวมาด้วยก็คือดาบญี่ปุ่นซามูไรเหล่านี้ได้กลายเป็นทหารอาสาญี่ปุ่นในเวลาต่อมา
เป็นอย่างไรบ้างครับประวัติและที่มาของ "ดาบญี่ปุ่น" หรือ "ดาบซามูไร"
หวังว่าคงมีประโบชน์บ้างนะครับ
ขอบคุณ วิกิพีเดียร์
ขอบคุณ คุณต้น-bushido